มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - ผู้มีจิตมั่นคง
ครั้นเวลาเช้า พระภิกษุสงฆ์มีพระเถระทั้งสองเป็นประมุข ได้ออกบิณฑบาตไปตามถนน แล้วมาพักฉันภัตตาหารที่บ้านของนางนันทมารดาซึ่งได้จัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี เมื่ออังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว นางก็เข้าไปนั่งสนทนา เล่าเรื่องที่ได้สนทนากับท้าวเวสสวัณเมื่อรุ่งอรุณให้พระเถระทั้งสองฟัง
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - จิตที่ไม่หวั่นไหว
พระโพธิสัตว์จึงบอกกับน้องว่า “น้องเอ๋ย ธรรมในหมู่มนุษย์นี้ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ ทั้งหมดนี้เป็นของไม่เที่ยง มีแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องธรรมดาของโลก เจ้าอย่าได้เสียใจไปเลย” แต่ลิงน้องชาย แม้จะได้ฟังอย่างนั้น ก็ยังไม่สามารถลดความอิจฉาริษยา ในลาภสักการะของลิงกาฬพาหุได้ จึงพูดกับพี่ชายว่า “พี่ราธะ พี่เป็นบัณฑิต ย่อมรู้ถึงประโยชน์ แม้ที่ยังมาไม่ถึง ทำอย่างไรหนอ เราจะได้เห็นเจ้าลิงดำตัวนั้น ถูกขับไล่ออกไปจากราชสกุล”
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - กาลเวลาพิสูจน์ความดี
ในตอนเย็น จึงเริ่มแผนการด้วยการเดินมุ่งหน้าไปวัดพระเชตวัน แต่งตัวเรียบร้อย ถือดอกไม้ของหอมเข้าไป เดินสวนทางกับสาธุชนทั้งหลายที่กลับจากการฟังธรรม เมื่อเดินสวนทางกัน คนก็สงสัย จึงถามว่า “นี่เธอจะไปไหนล่ะ” นางตอบว่า “ฉันจะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า”
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - ชีวิตที่ไม่หวั่นไหว
คนที่ถูกนินทาหรือถูกสรรเสริญ เพียงอย่างเดียวในโลกนี้ไม่มีเลย แม้แต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม ก็ยังมีทั้งคนนินทาและสรรเสริญ พระจันทร์และพระอาทิตย์ แม้ส่องสว่างให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายบนพื้นโลก บางครั้งได้รับการสรรเสริญ บางครั้งถูกนินทา
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - กุศโลบายให้พ้นโลก
โธตกมาณพทูลว่า "ถ้าพระองค์จะทรงพระกรุณา ก็ควรแสดงธรรมอันทำให้กิเลสของข้าพระพุทธเจ้าดับไป และแสดงธรรมที่ควรจะรู้ ขอได้โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ให้เป็นคนโปร่งเบาใจ ไม่ขัดข้องดุจสภาวะที่กิเลสดับไปแล้ว ไม่อาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งเที่ยวอยู่ในโลกนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า"
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ผู้มีชัยชนะที่ไม่กลับแพ้
เมื่อพวกอำมาตย์กราบทูลให้เสด็จกลับ พระเจ้าพรหมทัตจึงตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย เราไม่ใช่พระราชาแล้ว เราชื่อว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า” แล้วทรงเอาพระหัตถ์เบื้องขวาลูบพระเศียร ทันใดนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานไป เพศบรรพชิตเกิดขึ้นมาแทนที่ ทรงเหาะขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ประทับนั่งบนดอกปทุม
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ผู้อยู่จบพรหมจรรย์
ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา เมตตคูก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทั้งวิชชา๓ วิชชา๘ อภิญญา๖ วิโมกข์๘ จรณะ๑๕ ท่านได้บรรลุหมด รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในคำสอนของพระบรมศาสดา และได้บวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยพระพุทธองค์ได้เมตตาประทานการบวชให้
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - คำถามนำไปสู่ความหลุดพ้น
เหมือนดังเรื่องของเมตไตยยะ ซึ่งออกบวชเป็นชฎิล คือ นักบวชประเภทหนึ่งที่มีในสมัยนั้น ปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์ เมื่ออินทรีย์แก่กล้า บุญบันดาลให้มาพบแสงสว่าง ท่านได้พบกับยอดกัลยาณมิตร คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีโอกาสได้ทูลถามปัญหา และตั้งปัญหาถามได้ลึกซึ้ง เป็นปัญหาที่น่ารู้น่าศึกษาทั้งสิ้น
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ผู้ข้ามพ้นวัฏฏะ
ครั้นพระบรมศาสดา ทรงแก้ปัญหาอันลุ่มลึกที่ปุณณกะได้ทูลถามแล้ว ปุณณกะเป็นผู้มีดวงปัญญาสว่างโพลง เป็นปัญญาบริสุทธิ์ที่เข้าใจเนื้อความของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้อย่างแจ่มแจ้ง ท่านมีธรรมจักษุบังเกิดขึ้น ทั้งจักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลโก แสงสว่างที่ไม่มีประมาณได้ขจัดความมืดในจิตใจของท่านให้หมดสิ้นไป จนสามารถรู้แจ้งเห็นจริงในสรรพสิ่งทั้งหลายไปตามความเป็นจริงได้ และกิเลสอาสวะถูกขจัดไป สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในครั้งนั้น
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - บัณฑิตผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์
ในขณะนั้นเอง ดวงตาเห็นธรรมได้บังเกิดขึ้นกับท่านอชิตะ และท่านได้ทูลถามถึงข้อควรปฏิบัติ โดยกล่าวถามอย่างชาญฉลาดว่า "ชนผู้ได้เห็นธรรมแล้ว และชนผู้ยังต้องศึกษาอยู่ สองพวกนี้มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก พระองค์มีปัญญาแก่กล้า ขอทรงโปรดตรัสบอกวิธีการปฏิบัติแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"